ประวัติความเป็นมาของตำบลสะแกราบ
     ตำบลสะแกราบ เดิมเป็นป่าสะแกยังไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เมื่อประมาณปี พ.ศ.2310 เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าได้มีคนเลี้ยงช้างชื่อหมื่นจรินทร์ อพยพครอบครัวและพาช้างที่เหลือจากส่งไปเมืองหลวง หลบหนีมาอยู่ที่ป่าสะแกแห่งนี้ เพราะเกรงว่าถ้าอยู่เพนียด คือตำบลเพนียดในปัจจุบันจะไม่ปลอดภัย จึงมาอาศัยอยู่ที่ป่าสะแกห่างจากเพนียดประมาณ 6 กิโลเมตร เพราะป่าสะแกทำเลดีมีหนองน้ำให้ความชุ่มฉ่ำ จึงได้อาศัยอยู่ที่ป่าสะแกแห่งนี้ ต่อมาได้มีคนไทยที่เคยถูกเกณฑ์ไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทร์ ร่วมติดตามกองทัพพระยาจักรีมา ได้มาอาศัยอยู่อีก 5-6 ครอบครัว โดยมีอาชีพทำนาและเลี้ยงช้าง ทำให้ป่าสะแกแห่งนี้ราบหมด จึงเรียกว่าสะแกราบมาจนกระทั่งทุกวันนี้ และต่อมาได้จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลสะแกราบ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2539

ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกราบ
     ตั้งอยู่ที่หมู่ 9 ตำบลสะแกราบ ห่างจากอำเภอโคกสำโรงไปทาง ทิศตะวันออก ประมาณ 15 กิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลดงมะรุม อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลเกาะแก้ว อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

เนื้อที่ (แสดงเนื้อที่โดยประมาณเป็นตารางกิโลเมตรและไร่)
     องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกราบเนื้อที่ทั้งสิ้น 57,662.50 ไร่ (92.26 ตารางกิโลเมตร) สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองน้ำไหลผ่าน

 ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลสะแกราบ
- เป็นที่ราบลุ่มไม่มีโครงการชลประทาน อาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ
- มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 39,375 ไร่ มีหมู่บ้านทั้งหมด 15 หมู่บ้าน ดังนี้
     หมู่ที่ 1. บ้านสะแกราบ
     หมู่ที่ 2. บ้านสะแกราบเหนือ
     หมู่ที่ 3. บ้านหนองสำโรง  
     หมู่ที่ 4. บ้านสะพานคง
     หมู่ที่ 5. บ้านกุดตะเข้
     หมู่ที่ 6. บ้านทุ่งทอง
     หมู่ที่ 7. บ้านหนองขุย
     หมู่ที่ 8. บ้านสะแกราบใต้
     หมู่ที่ 9. บ้านสะแกราบน้อย
     หมู่ที่ 10. บ้านรักไทย
     หมู่ที่ 11. บ้านหนองเตาปูน
     หมู่ที่ 12. บ้านหนองโพธิ์ทอง
     หมู่ที่ 13. บ้านโคกแจงใหญ่
     หมู่ที่ 14. บ้านเก่าสำโรงน้อย
     หมู่ที่ 15. บ้านใหม่โคกพรม

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

เกี่ยวกับหน่วยงาน